ปัสสาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฉี่)
ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์

ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่ หรือ เยี่ยว) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือด

พิษ[แก้]

ปัสสาวะไม่เป็นพิษ[1] แม้ปัสสาวะประกอบด้วยสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งสามารถทำให้ระคายเคืองผิวหนังและตาได้ แต่ถ้าหากผ่านกระบวนการกรองที่เหมาะสม จะสามารถสกัดน้ำออกมาเป็นน้ำดื่มได้ อย่างเช่นน้ำดื่มของนักบินอวกาศ

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

ปัสสาวะทั่วไปอาจมีสีแตกต่างกันตั้งแต่ใสไม่มีสีจนถึงสีอำพันเข้ม ขึ้นอยู่กับระดับความอวบน้ำ (hydration) ของร่างกายและองค์ประกอบอื่น ๆ

การวิเคราะห์ทางเคมี[แก้]

นักชีวเคมีได้วิจัยสารต่าง ๆ ในปัสสาวะพบว่า 95% เป็นน้ำ 2.5 % เป็นยูเรีย อีก 2.5% เป็นสารอื่น ๆ ถ้าแยกส่วนประกอบที่เป็นมิลลิกรัมออกมาในน้ำปัสสาวะ 100 ซีซี จะพบว่ามี

  1. Urea Nitrogen 682 มิลลิกรัม
  2. Urea 1,459 มิลลิกรัม
  3. Creatinin Nitrogen 36 มิลลิกรัม
  4. Creatinin 97 มิลลิกรัม
  5. Uric acid nitrogen 12.30 มิลลิกรัม
  6. Uric acid 36.90 มิลลิกรัม
  7. Amino nitrogen 9.70 มิลลิกรัม
  8. Ammonia nit 57 มิลลิกรัม
  9. Sodium 212 มิลลิกรัม
  10. Potassium 137 มิลลิกรัม
  11. Calcium 19.50 มิลลิกรัม
  12. Magnesium 11.30 มิลลิกรัม
  13. Chloride 314 มิลลิกรัม
  14. Total sulphate 91 มิลลิกรัม
  15. Inorganic sulphate 83 มิลลิกรัม
  16. Inorganic phosphate 127 มิลลิกรัม

สีที่ผิดปกติ[แก้]

สีน้ำตาล เกิดจากการดื่มน้ำน้อย ทำให้มีของเสียปะปนกับปัสสาวะมาก ปรกติต้องดื่มน้ำมาก ๆ จึงจะทำให้ปัสสาวะมีสีใส

กลิ่น[แก้]

ปัสสาวะของคนเราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมล้วนมีกลิ่นคาวเพราะมีกรดยูเรียอยู่ภายในปัสสาวะ

ความเป็นกรดเบส[แก้]

โดยทั่วไปปัสสาวะจะค่อนข้างมีความเป็นกรดอยู่เล็กน้อย pH ประมาณ 6.0 แต่ก็อาจมีค่าเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ดื่ม ประเภทอาหาร และยาที่บริโภค โดยช่วงอ้างอิงของค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของปัสสาวะนั้นจะอยู่ที่ 4.6 – 8.0 ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยนั้นก็เนื่องมาจากร่างกายขับไฮโดรเจนไออน (H+ ion) ออกมาทางน้ำปัสสาวะเพื่อรักษาสมดุลของกรดเป็นด่างในร่างกายนั่นเอง[2]

ปัสสาวะในทางการแพทย์[แก้]

การตรวจสอบ[แก้]

การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะเราสามารถใช้สารละลายเบเนดิกต์ตวจสอบได้

ยุคโบราณ[แก้]

  • ในสมัยโบราณ ชาวโรมัน ใช้ปัสสาวะในการเป็นสารฟอกขาวเสื้อผ้าและฟัน
  • ในสกอตแลนด์ เคยใช้ปัสสาวะในการป้องกันผ้าขนสัตว์หดตัว

ประวัติศาสตร์[แก้]

แต่เดิมมาคนยุคโบราณคิดว่าสีเหลืองของปัสสาวะมาจากแร่ทองคำ นักเล่นแร่แปรธาตุสมัยนั้นได้ใช้เวลานานมากในการที่สกัดเอาแร่ทองคำออกมาจากปัสสาวะให้ได้ แต่ความพยายามดังกล่าวกลับทำให้เกิดการค้นพบฟอสฟอรัสขาว ซึ่งค้นพบโดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน วิคเตอร์ แวนาโนวิกซ์ (Victor Wernanowicz) ใน พ.ศ. 2212 (ค.ศ. 1669) ขณะที่เขากำลังกลั่นปัสสาวะหมัก และใน พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) อิแลร์ รูแอลล์ อิแลร์ มาแรง รูแอลล์ (Hilaire Marin Rouelle) ชาวฝรั่งเศส มีชีวิตอยู่ใน ค.ศ. 1718 – 1779 รู้จักกันในนาม "เลอ กาเด" (le cadet) (ซึ่งหมายความว่า "ผู้น้อง") ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อให้แตกต่างจากพี่ชายที่ชื่อ กิวลูมม์ ฟรองซัว รูแอลล์ (Guillaume-François Rouelle) ซึ่งเป็นนักเคมีเหมือนกับตัวเขาเอง ใน ค.ศ. 1773 เขาได้ค้นพบสารประกอบอินทรีย์ชนิดใหม่จากการต้มปัสสาวะจนแห้งซึ่งเรียกว่า ยูเรีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Urine therapy เก็บถาวร 13 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Vanderbilt.edu (16 ตุลาคม 1992). สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2011.
  2. ค่าความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ (urine pH หรือ pH) คืออะไร ? medthai.com. 13 มีนาคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Urine formation, excretion and osmoregulation. เก็บถาวร 2006-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษ)
  • BBC News Online – US army food... just add urine (ในภาษาอังกฤษ)
  • Kelly, John F. "The Urine Cure and Other Curious Medical Treatments" Hippocrates Magazine. (พฤษภาคม–มิถุนายน 1988) (ในภาษาอังกฤษ)
  • Punch and Us. "A Golden Shower A Day, Keeps The Doctors Away (Humor)" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2008.
  • Urine Chemistry (www.drugs.com) (ในภาษาอังกฤษ)