မာတိကာသို့ ခုန်သွားရန်

ကဏေန်

နူ ဝဳကဳပဳဒဳယာ

ကဏေန်/ကကဍတ်ဏေန်
ကဏေန်ဗဳဇနူတြေံ
မပါ်ဂကူ အတိုင်နဲသိပ္ပံ
လောက: Animalia
လပါ်ဂကူ: Chordata
ဂကောံဂကူ: Actinopterygii
လၟေင်ဂကူ: Perciformes
ဇာတ်ဂကူ: Cichlidae
ဗဳဇဂကူ: 'Oreochromis'
ယၟုတၞဟ်
  • Tilapia nilotica (Linnaeus, 1758)

ကဏေန် ဒှ်ကဍာ်ဗတေက်မွဲဂကူ ပ္ဍဲဂကောံကကဍတ်အရံၚ် (Cichlidae) နွံယၟုလပါ်သိပ္ပံဟီုဂှ် Oreochromis niloticus ဒှ်ကဗွဝ်ဖျာမွဲတုဲ ထပြးဗဳဇးလောဲသွာ တုဲတှ်ေ နွံကဵုရှ်သာ်ခိုဟ်။

တၠတိညးဍုၚ်သေံသေံလၟေၚ်(၉) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร နွံအသံဗလးကဏေန်ဏံ သွက်သ္ဂောံဂလိုၚ်ဗဳဇက ပ္ဍဲကၟာကဂီုကၠီုสวนจิตรลดา နူသာသနာ 2508 သၞာံ

ကဏေန် ဍေံမံၚ်ဂွံသီုပ္ဍဲဍာ်ဗတေက်ကေုာံဍာ်ဖၞုၚ်ဗ္တေက် မဗဳဇနူတြေံနွံပ္ဍဲကြုၚ်နာယ် တိုက်အေဖရိကာ ဂွံဆဵုကေတ်မာန်ပေၚ်ပြးကွိက် လှာ တုဲတှ်ေၜဳဍာ်ဗ္တေက်ပ္ဍဲဍုၚ်ဇြူဍာန်, ယူကာန်ဍာ တုဲတှ်ေဝဳဗ္တေက်ဓေန်ကာန်ယဳကာ ကဏေန်ဏံလုပ်စိုပ်ကၠုၚ်ဍုၚ်သေံကၠာအိုတ်ဂှ်တှ်ေ နူသၟိၚ်สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) ส่วนในสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวถึงที่มาของชื่อปลานี้ว่า นิล มาจากตัวอักษรคันจิตัวหนึ่งในพระนามอะกิฮิโตะ คือตัว 仁 ตัวอักษรนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบคือฮิโตะหรือนิน[]

และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับจากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

သၚ်္ကေတဗီုပြၚ်နာနာ

[ပလေဝ်ဒါန် | ပလေဝ်ဒါန် တမ်ကၞက်]

ปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกต่างกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร

ปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ, ตัวอ่อนของแมลง, กุ้งฝอย ตลอดจนพืชผักชนิดต่างๆ

ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด–ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5–8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2–3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5–6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ

ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4–5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3–4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง

ปลาทับทิม

การเพาะพันธุ์ปลานิลในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกสถิติในปี พ.ศ. 2517 นับจากนั้นมา ปลานิลหน้าฟาร์มได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 107,000 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท ปลานิลยังเป็นปลาน้ำจืดเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพสูงกว่าปลาชนิดอื่น นอกจากนี้แล้ว ปลานิลยังเป็นปลาที่ชาวไทยบริโภคกันมากที่สุดแล้ว ยังทำให้เกิดการมีงานทำแก่ประชาชนมากกว่าล้านคนในฟาร์มปลานิลที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 300,000 แห่งทั่วประเทศ

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังส่งออกปลานิลไปยังตลาดต่างประเทศทั้งในยุโรป, ตะวันออกกลาง, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และเอเชีย ในปี พ.ศ. 2551 ตลาดสหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดอันดับ 1 ของปลานิล คิดเป็นปริมาณส่งออก 7,758.98 ตัน รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง มีปริมาณการส่งออก 5,583.91 ตัน ส่วนตลาดสหรัฐฯอยู่ในลำดับที่ 3 มีปริมาณ 4,786.27 ตัน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกปลานิลไทยไปยังประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปมากที่สุดถึงร้อยละ 40 รองลงมาคือ สหรัฐฯร้อยละ 37 ส่วนประเทศในแถบตะวันออกกลางมีสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของการส่งออกรวม โดยทำการส่งออกทั้งหลายรูปแบบทั้งปลานิลสด, ปลานิลที่ยังมีชีวิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ในปี พ.ศ. 2549 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า ประเทศไทยสามารถผลิตปลานิลได้เป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองลงมาจากประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

  • ปลานิลแดง เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลธรรมดา ๆ โดยนำไปผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอเทศ ของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น โดย ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ ได้ปลาที่มีลักษณะเป็นปลาที่มีสีขาวอมแดง จึงขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับการพระราชทานนามว่า "ปลานิลแดง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
  • ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม"
  • ปลานิลซูเปอร์เมล หรือ ปลานิลเพศผู้ GMT เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลาเพศผู้ทั้งหมด โดยทำการดัดแปลงโครโมโซม ซึ่งปลานิลซูเปอร์เมลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลทั่วไป
  • ปลาหมอเทศ
  • ปลาหมอเทศข้างลาย

ထာမ်ပလိက်:Wikispecies-inline

ကလေၚ်သီကေတ်လဝ် နူ "https://mnw.wikipedia.org/w/index.php?title=ကဏေန်&oldid=26583"